วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

IA

แบบมาตรฐาน

รุ่นฉลองครบรอบ1ปี
ข้อมูลซอฟต์แวร์

 ชื่อซอฟต์แวร์ IA – ARIA OF THE PLANETES
 รุ่น Vocaloid3
 ผู้ผลิต 1st PLACE              
 ภาษาที่รองรับ ญี่ปุ่น
 ผู้ให้เสียง Lia
 วันวางจำหน่าย 27 มกราคม 2012
 ราคาจำหน่าย 12,800เยน
 หน้าหลัก

ข้อมูลทางเทคนิค

 Tempo  63 ~ 228BPM
 Range  B2 ~ A4
 แนวเพลงที่แนะนำ ป๊อบ,แจ๊ส

ข้อมูลตัวละคร

 ชื่่อ IA (อ่าน เอีย)
 เพศ หญิง
 ผู้ออกแบบตัวละคร赤坂アカ  (Akasaka Aka:อะคะซะคะ อะคะ)



       IAนั้นเชื่อว่าชื่อมาจากLiaผู้ให้เสียงโดยตรง ซึ่งLiaนั้นเป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงมาจากเพลง鳥の歌(Tori No Uta) ซึ่งได้ใช้ประกอบวิชวลโนเวลเรื่องAir โดยสตูดิโอKey  ซึ่งจากการที่คลิปPV MMDข้างบนนั้นได้เข้าสู่อันดับ4ในการประกวด ในการแข่งขัดMMD Cupครั้งที่8 ทำให้IAมีชื่อเสียงอย่างรวดเร็ว

      คำโปรยของIAคือ Aria on the Planetes นั้นมีคนตีความไว้ 2 แนวทางด้วยกัน อย่างแรกคือคำว่า “Aria” และ “Planetes” มาจากภาษาละตินซึ่งมีความหมายว่า “พื้นที่อันเปิดกว้าง” และ “ดาวเคราะห์” ตามลำดับ รวมความได้ว่า “พื้นที่อันกว้างใหญ่บนดาวเคราะห์” และอีกแนวทางหนึ่งก็คือคำว่า “Aria” เป็นภาษาอิตาเลียนซึ่งแปลว่า “Air(อากาศ)” และซึ่งมักใช้กันในแวดวงโอเปร่าโดยสื่อถึงการร้องเพลงโดยนักร้องเดี่ยว หรืออาจมองอีกมุมก็อาจเกี่ยวกับวิชวลโนเวลAirที่ใช้เพลงTori No UtaของLiaผู้ให้เสียงไปใช้ก็เป็นได้

      ทางด้านประสิทธิภาพนั้นIAจัดว่ามีความเหมือนมนุษย์สูงที่สุดที่เคยมีมา แม้แต่ในหมู่Vocaloid3ด้วยกันก็ตาม จนบางครั้งก็ถูกมองว่าเหมือนมนุษย์จนเกินไป (ในจุดนี้คงต้องอธิบายในภายหลังว่าทำไมไม่ควรเหมือนมนุษย์มากเกินไป) ซึ่งทำให้นักแต่งเพลงบางคนมีการปรับแต่งIAในแนวที่ทำให้แตกต่างจากเสียงของผู้ให้เสียงมากขึ้น ซึ่งจากการสังเกตุของข้าเจ้าVocaloid-Pที่ชอบใช้IAมักเป็นVocaloid-Pที่อยู่มาได้ไม่นานนัก(ประมาณปี2010ขึ้นไป) ในVocaloid-Pที่มีผลงานเป็นระดับตำนานหลายคนแทบไม่พบการใช้IAเลย ส่วนหนึ่งน่ามาจากการที่มีความเหมือนมนุษย์สูง เพราะVocaloid-Pที่อยู่มานาน เหล่านั้นหลายคนมักใช้ประโยชน์จากความไม่เหมือนมนุษย์ของVocaloidในการสร้างเสน่ห์เฉพาะตัวให้กับเพลงของตน หรือก็คือมีไสตล์ของตนเองอย่างชัดเจน ยกเว้นบางคนที่ทำเพลงไสตล์เสียงเหมือนมนุษย์อยู่แล้ว

       ทางด้านลิขสิทธินั้นจัดว่าเป็นความเปลี่ยนแปลงคือ สามารถใช้ภาพอย่างเป็นทางการบนแผ่นซีดี ใบปลิว หรือโปสเตอร์ได้ แต่นอกเหนือจากนี้ จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน ซึ่งของเดิมที่ใช้กันนั้นห้ามนำรูปแบบเป็นทางการไปใช้ไม่ว่ากรณีใดก็ตามโดยไม่ได้รับอนุญาต และในปัจจุบันVocaloidของหลายค่ายเช่นCryptonได้ปรับเป็นแบบนี้แล้ว ซึ่งการปรับเป็นแบบนี้เมื่อดูๆไปแล้ว จะสามารถส่งผลให้เผยแพร่ตัวVocaloid ไปได้ง่ายกว่าของเดิมมาก แต่ดูจากผลงานจำพวกCD อัลบัมเพลงในช่วงนี้แล้ว รู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่มีผลอะไรมากนัก เพราะปกติก็จะใช้รูปที่วาดขึ้นมาใหม่อยู่แล้ว

        อนึ่งIAไม่มีการประกาศข้อมูลตัวละครอื่นๆนอกจากที่ระบุมาข้างต้น ข้อมูลนอกเหนือจากนี้เช่นIAมีอายุ15ปี เป็นความเข้าใจผิดและแฟนเมดทั้งสิ้น (และตัวอื่นๆก็เช่นเดียวกัน)

อ้างอิง
http://vocaloid.wikia.com

วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประกาศ20/5/13

ข้าเจ้าทำบล๊อกนี้มานอกจากความรักในVocaloidที่เปลี่ยนชีวิตข้าเจ้าแล้ว ยังทำเพื่อฝึกการแปลและการเขียนวิเคราห์ด้วย เพราะข้าเจ้าเชื่อว่าข้าเจ้าต้องใช้มันในอนาคตเลยเลือกทีจะทำบล๊อกนี้

ขอเข้าเรื่องแล้วกันเนื่องจากข้าเจ้าเปิดเทอม(ม.6)แล้วช่วงนี้จะอัพสักสัปดาห์ละครั้ง-2ครั้งประมาณวันพฤหัสและเสาร์ถ้ามีบทความเสร็จ และจะอาจอัพเทกระจาดทีละหลายๆบทความ เพราะข้าเจ้าจะเขียนคร่าวๆบนมือถือแล้วไปแก้ไข+เพิ่มรูป+ลิงค์ในคอมพ์ ถ้าอัพวันอื่นก็จะเป็นบทวิเคราะห์ต่างๆ ที่เป็นตัวหนังสือล้วนๆ ถ้าสัปดาห์ไหนไม่โผล่ก็อย่านึกว่าข้าเจ้าดรอป แต่เป็นเพราะติดงานของโรงเรียนไม่ก็สอบ
และวันที่20มิ.ย-4ก.ค.ข้าเจ้าจะไปทัศนศึกษาญี่ปุ่น(ได้ทุน) อาจจะไม่ได้อัพ ถ้าเอาโน๊ตบุ๊คไปไม่ได้หรือต่อเน็ตที่โน่นไม่ได้ หรือโดนกิจกรรมแน่นเอี๊ยด

วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

[บทวิเคราะห์]ทำไมEngloidจึงไม่ประสพความสำเร็จ


        หลายคนรู้จักVocaloidแค่ของ 2ยักษ์ใหญ่ในวงการคือCryptonและInternet กับของรายย่อยที่ทำมาแล้วดังไม่กี่ตัว ทิ้งให้อีกหลายๆตัวจากทั้งโลกไม่มีใครรู้จักทั้งจากตะวันออกและตะวันตก ซึ่งดูๆไปฝั่งตะวันออกอย่างน้อยตลาดยังดีเพราะหลายตัวแม้ไม่ดังมากก็ยังพอขายได้เช่นIrohaหรือVY series แต่ฝั่งตะวันตกนั้นแม้จะเป็นผู้บุกเบิกVocaloidตัวจริง แต่ตลาดของVocaloidฝั่งตะวันตก โดยเฉพาะVocaloidภาษาอังกฤษหรือที่เรียกว่าEngloid แทบเงียบกริบ เพิ่งมามีตัวที่ดังๆแค่ไม่กี่ตัว แต่ก็ไม่ดังมากมายอะไรเมื่อเทียบกับตะวันออก ซึ่งจะลองวิเคราะห์ดูตามควาคิดเห็นของข้าเจ้า

1.การตลาดในระยะแรกมุ่งไปแต่ลูกค้าที่เป็นนักแต่งเพลงมืออาชีพ ทำให้มีลูกค้าน้อยเพราะพวกนี้มักจะฟังนักวิจารณ์เป็นหลักมากกว่าเลือกด้วยความชอบของตัวเอง ซึ่งจากเคสของMeikoที่แม้เป็นรุ่นเก่า ที่คุณภาพสู้รุ่นใหม่ๆไม่ได้แต่ก็มีคนชอบจนพัฒนาเทคนิคในการแต่งเพลง และปรับแต่ง จนบางเพลงสู้รุ่นใหม่ๆได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ และนักแต่งเพลงชื่อดังบาง คนก็มักซื้อตัวที่ชอบไว้ แม้จะมีผลงานที่ใช้ตัวนั้นทำแค่เพลงเดียวหรือไม่มีเลยก็ตาม หรือก็คือซื้อโดยไม่ได้คาดหวังถึงคุณภาพมากมายอะไรเพราะถ้าจะใช้จริงๆก็ไปปรับแต่งเองได้

2.บรรจุภัณฑ์ ในระยะแรกๆ นั้นฝั่งตะวันตกทำมาในแนวเรียบง่ายเหมือนกับซอฟต์แวร์ทั่วไป ซึ่งไม่มีความน่าดึงดูดใจสำหรับมือสมัครเล่นแม้แต่น้อย
เปรียบเทียบระหว่างVocaloid 2คู่แรกของทั้ง2ฝั่ง

       แม้ขึ้นยุคVocaloid2แม้Engloidเริ่มมีการใส่คาแรคเตอร์หรือรูปภาพอิมเมจ แต่ระยะแรกก็ทำแบบไม่ได้ทำเพื่อดึงดูดลูกค้าแต่ทำเพื่อให้อิมเมจล้วนๆมากกว่า ซึ่งในระยะหลังที่นำแนวทางของญี่ปุ่นมาปรับใช้ก็เห็นได้ชัดเจนเลยว่าความนิยมดีขึ้นมหาศาลแม้จะไม่เท่าของญี่ปุ่นก็ตาม
เปรียบเทียบระหว่างVocaloid2 ตัวแรกของทั้ง2ฝั่ง

3.ขาดการโปรโมต เมื่อเทียบกับญี่ปุ่นแล้วของตะวันตกแทบไม่มีการโปรโมตอะไรเลย มักจะประกาศทางเน็ตไม่ก็งานแสดงสินค้ามากกว่า ซึ่งทั้ง2แบบเป็นลักษณะให้ผู้สนใจเข้าไปหาทั้งคู่ ไม่เหมือนของญี่ปุ่นที่ใช้วิธีเกาะกระแสวัฒนธรรมและใช้มันในการโปรโมต เห้นได้จากสินค้าVocaloidจำนวนมหาศาลในตลาดของสะสม จำพวกฟิคเกอร์,ตุ๊กตา และการจัดงานอีเว้นต์เพื่อกระตุ้นเป้นประจำ

4.สื่อกระแสหลักไม่มีการพูดถึง ซึ่งทุกสื่อที่พูดถึงVocaloidนั้นล้วนแต่พูดถึงแต่MikuและอาจมีไปถึงRin,Lenบ้าง แต่ไม่มีสื่อไหนพูดถึงVocaloidฝั่งตะวันตกแม้แต่คำเดียว แม้แต่สือตะวันตกเองก็ตาม


5.การใช้งานยาก เนื่องจากภาษาอังกฤษมีเสียงมากกว่าภาษาญี่ปุ่นหลายเท่า ทำให้ตัวVoicebankมีขนาดใหญ่กว่าภาษาญี่ปุ่นมาก ซึ่งตามมาตรฐานVocaloid3ของYAMAHAแล้ว Voicebankภาาาอังกฤษจะมีขนาดที่ใหญ่กว่าญี่ปุ่นถึง5เท่า(จากกรณีMegpoid v3กับMegpoid English) และจากการฟังหลายๆเพลงที่ใช้Vocaloidอังกฤษร้อง การปรับแต่งเสียงทำได้ไม่ดีเท่าภาษาญี่ปุ่น ส่วนหนึ่งก็มาจากการออกเสียงภาษาอังกฤษที่ซับซ้อนกว่าภาษาญี่ปุ่นด้วย แม้จะเป็นVocaloid3ที่มีคุณภาพเสียงดีมากก็ตาม

6.Vocaloid-P(นักแต่งเพลง) ส่วนใหญ่อยู่ที่ญี่ปุ่น แม้ว่าในญี่ปุ่นนั้นมีCryptonเป็นตัวแทนจำหน่ายก็ตามก็ไม่ได้มีการโปรโมตอะไรทั้งสิ้น และทุกบริษัทก็เน้นแต่หนุนผลิตภัณฑ์ของตนอย่างเดียว ส่วนDwango ที่บริหารNico Nico Douga ที่เป็นผู้เดียวที่ทำการสนับสนุนหลายๆค่ายก็เป็นลักษณะทำให้ดังยิ่งขึ้นมากกว่าปั้นให้ดัง

7.ปัญหาทางด้านลิขสิทธิ Vocaloidของญี่ปุ่นนั้นทุกตัวล้วนใช้ข้อตกลงทางด้านลิขสิทธิเดียวกันหมด อาจมีแตกต่างทางด้านรายละเอียดได้บ้างแล้วแต่บริษัท แต่ของทางตะวันตกนั้นไม่ได้เข้าร่วมข้อตกลงดังกล่าว ทำให้การเผยแพร่ทำได้ยากลำบากมากกว่าหลายเท่า และทำให้ไม่มีสิทธิเข้าร่วมในการประกวดต่างๆที่ถือเป็นโอกาศชั้นดีในการโปรโมตด้วย


        แม้ว่าVocaloidฝั่งตะวันตกจะตามหลังVocaloidฝั่งตะวันออกอยู่หลายก้าวแต่ก็ยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและแก้ไขปรับปรุงต่อไปเรื่อยๆ สักวันหนึ่งเราอาจได้เห็นพวกเขาขึ้นสู่เวทีพร้อมกันทั้งโลก ไม่ว่าจะมาจากที่ใดก็ตาม ก็เป็นได้



วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

VY2



Vocaloid 2

Vocaloid3

First Edition


Second Edition


ข้อมูลซอฟต์แวร์

 ชื่อ VY2
 รุ่น Vocaloid2 Vocaloid3
 ผู้ผลิต YAMAHA
            Bplats, Inc.
 ผู้จัดจำหน่าย Bplats, Inc.
 ภาษาที่รองรับ ญี่ปุ่น
 ผู้ให้เสียง ไม่ระบุ
 ผู้วาดรูปบนบรรจุภัณฑ์
                           Vocaloid2 Nagimiso.SYS
                           VY2v3+SE Kazeno
 เพศ ไม่ระบุ (เสียงแบบเพศชาย)
 วันวางจำหน่าย  Vocaloid2    25 เมษายน 2011
                           VY1v3        19 ตุลาคม 2012
                           VY1v3SE    20 มีนาคม 2013
 ราคา    VY2   11,800เยน
             VY2v3 9,800เยน
 สถานะ VY2 ปลดระวาง แทนที่ด้วยVY2v3
             VY2v3(first edition) หยุดการจำหน่าย แทนที่ด้วยVY2v3SE(Second Edition)
 หน้าผลิตภัณฑ์ VY2
                          VY2v3


ข้อมูลทางเทคนิค

 VY2
  Tempo 70 ~ 140 BPM
  Range A1 ~ E3

 VY2v3+SE

   standard

    Tempo   70~140
    Range   A1~G3

   falsetto 
    Tempo   70~140
    Range   G#3~E4
      เป็นVoicebankที่ทำมาเสริมเพื่อให้VY2v3สามารถร้องถึงเสียงที่สูงมากได้อย่างเป็นธรรมชาติขึ้น แต่อาจสร้างความยุ่งยากในการแต่งเพลงเนื่องจากต้องคอยสลับระหว่าง2Voicebankได้


      VY2เป็นVocaloidภาษาญี่ปุ่นตัวที่2ที่ไม่มีคาแรคเตอร์อย่างเป็นทางการ ซึ่งYAMAHA ได้ใช้วิธีใส่ไอเทมที่สื่อถึงอิมเมจของVocaloidลงไปแทน ซึ่งของVY2นี้เป็นดาบคะตะนะ ซึ่งส่งผลให้ในหลายๆดีไซน์มีดาบวะคิซะฌิ ซึ่งเป็นดาบคะตะนะสั้นอยู่ด้วย ซึ่งดีไซน์ตัวละครอิมเมจที่สำคัญๆมีดังนี้

ตัวละครอิมเมจ(เฉพาะที่สำคัญเท่านั้น)
 勇馬 (Yuuma : ยูมะ)
   ผู้ออกแบบ Nagimiso.SYS

       เป็นรูปที่Nagimiso.SYSผู้วาดรูปดาบวะคิซะฌิบนปกกล่องของรุ่นVocaloid2ได้วาดไว้ และแฟนอาร์ตในช่วงแรกก็มักจะอิงกับดีไซน์นี้

 66 (Roro : โรโร่)
   ผู้ออกแบบ マンボウの姉 :(Manbou no ane :มันโบ โนะอะเนะ) ชื่ออื่น竜宮ツカサ (Tsukasa Ryugu :ท์ซุคะสะ ริวงุ)
       เป็นดีไซน์ที่ได้รับความนิยมและการยอมรับมากที่สุด ซึ่งดีไซน์นี้มาจากการประกวดVesFes แม้ดีไซน์นี้จะไม่ได้ประกาศว่าเป็นแบบทางการก็ตาม แต่ก็ใช้ในการปรากฎตามสินค้าต่างๆของทางYAMAHA เช่นปกของVocaloid-P Data Series แม้ว่าต้องการจะสื่อถึงCosplayerที่คอสเพลย์เป็น66ก็ตาม แต่ในแผ่นมีเพลงที่ใช้VY2ร้องอยู่มาก


 Rev
   ออกแบบ+โมเดล Kio
        เป็นโมเดลที่ใช้เป็นพิธีกรในรายการVOCALO Revolution เช่นเดียวกับCULที่ใช้VY1ให้เสียง เป็นไปได้ว่าในอนาคตอาจได้มีVocaloidเป็นของตัวเองแบบCUL

       ด้านความนิยมจัดว่าแปลกมากเพราะเพลงที่มีชื่อเสียงแทบทั้งหมดเป็นของ家の裏でマンボウが死んでるP ( Ieno Urade Manbouga Shinderu-P ชื่ออื่น タカハシ ヨウ :You Takahashi :โย ทะคะฮะฌิ) ซึ่งเป็นน้องชายของManbou no aneผู้ออกแบบ66 แต่เพียงผู้เดียวในขณะที่เพลงของคนอื่นนั้นมีเสียงตอบรับไม่ดี หรือจะกล่าวได้เลยว่า2พี่น้องนี้ได้ยึดครองVY2ไว้เรียบร้อยแล้วทั้งด้านคาแรคเตอร์และเพลงเลยทีเดียว

อ้างอิง
http://vocaloid.wikia.com

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Avanna


ข้อมูลซอฟต์แวร์

 รุ่น Vocaloid3
 ผู้ผลิต Zero-G
 ผู้จัดจำหน่าย Zero-G
 ภาษาที่รองรับ อังกฤษ
 ผู้ให้เสียง ไม่เปิดเผย
 วันวางจำหน่าย 22ธันวาคม2012
 ราคาจำหน่าย $95
 หน้าหลัก

ข้อมูลทางเทคนิค

 Range   D2-G4

ข้อมูลตัวละคร

 ชื่่อ Avanna
 เพศ หญิง
 อายุ 18
 ผู้ออกแบบตัวละคร  AkiGlancy (EmpathP)



        Avannaเป็นVocaloidที่มีธีมเป็นแบบวัฒนธรรมเซลติค ซึ่งพบซากอารยธรรมได้ทั่วยุโรป และเป็นที่มาของหลายๆอย่างในนิยายแฟนตาซี เช่นเอล์ฟเป็นต้น ซึ่งในดีไซน์ดั้งเดิมนั้นAvannaถูกดีไซน์ให้เป็นเอล์ฟ เต็มตัว
ดีไซน์ดั้งเดิมAvanna
       แต่ทางYAMAHAไม่ยอมให้ใช้ดีไซน์นี้ เพราะจากประสพการณ์ที่ผ่านมานั้น Vocaloidที่มีคาแรคเตอร์ที่ไม่ได้เป็นไสตล์อนิเมะนั้นจะมีทั้งยอดขายและเสียงตอบรับไม่ดี โดยเฉพาะBrunoและClaraของVoctro Labsประเทศเสปน ทีถึงขั้นต้องไปดีไซน์ใหม่แทบทั้งหมดเพราะถูกวิจารย์อย่างหนักในแง่ลบ Avannaจึงต้องไปดีไซน์ใหม่เป็นแบบปัจจุบัน แต่ก็ยังเห็นแบบเอลฟ์ที่มีพื้นฐานจากแบบปัจจุบัยเป็นเงาลางๆอยู่ที่แบ็คกราวน์
แบบปัจจุบัน(หูปกติ)
แบบปัจจุบัน(หูเอลฟ์)

        ซึ่งการตลาดนั้นได้ปรับใช้มาจากOliverแต่จะประสพความสำเร็จหรือไม่นั้นคงต้องรอดูอีกสักระยะเนื่องจากตอนที่เขียนบทความนี้Avannaยังออกมาไม่ครบ1ปียังตัดสินอะไรไม่ได้มาก


อ้างอิง
http://vocaloid.wikia.com

วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Oliver



ข้อมูลซอฟต์แวร์

 รุ่น Vocaloid3
 ผู้ผลิต Power FX
            VocaTone
 ผู้จัดจำหน่าย Power FX                 
 ภาษาที่รองรับ อังกฤษ
 ผู้ให้เสียง ไม่เปิดเผย
 วันวางจำหน่าย 21 ธันวาคม 2011
 ราคาจำหน่าย $129
 หน้าหลัก twitter facebook tumblr

ข้อมูลทางเทคนิค

 Tempo  70 ~ 145 BPM
 Range  G1 ~ D3
 แนวเพลงที่แนะนำ

ข้อมูลตัวละคร

 ชื่่อ Oliver
 เพศ ชาย
 อายุ 12
 สัญลักษณ์ Dal Segno
 ผู้ออกแบบตัวละคร dappleback




        Oliverเป็นVocaloidตัวแรกที่ใช้เด็กผู้ชายจริงๆมาให้เสียงทำให้ไม่สามารถเปิดเผยตัวได้เนื่องจากมีกฎหมายคุ้มครองอยู่ Oliverเป็นVocaloidตัวแรกที่ใช้เสียงแบบการร้องในการประสานเสียง และถือเป็นVoicebankภาษาอังกฤษที่ดีที่สุดตัวหนึ่ง และออกสำเนียงได้ดีที่สุดตัวหนึ่งด้วย

        Oliverตอนแรกใช้ชื่อว่าCodyแต่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดที่เปลี่ยนชื่อ

        ด้านการออกแบบนั้นยังคงคอนเซ็ปต์สัตว์ประหลาดจากBig AlและSweet Annอยู่ โดยเปลี่ยนจากรอยเย็บเป็นผ้าพันแผล ในด้านชุดนั้นได้แรงบัลดาลใจมาจากVienna Boys' Choir(เยอรมัน:Wiener Sängerknaben)ซึ่งเป็นวงBoy Choir (คอรัสเด็กผู้ชาย)ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก ที่ก่อตั้งตั้งแต่ยุคกลาง ผสมกับชุดของชนชั้นสูงอังกฤษ สมัยศัตวรรษที่18-19

เครื่องแบบVienna Boy's Choir
ชุดชนชั้นสูงสมัยศัตวรรษที่18
ภาพดีไซน์Oliver
      ที่มุมของผ้าคลุมไหล่มีสัญลักษณ์Dal Segno ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางดนตรีหมายความว่า "ย้อนกลับจากเครื่องหมาย"
เครื่องหมายDal Segno

      ดีไซน์ของOliverนั้นบางคนอาจนึกว่ามีที่มาจากOliver Twistที่เป็นบทประพันธ์ชื่อดังของCharles Dickensและเป็นนิยายสร้างชื่อให้แก่Charles Dickens ซึ่งเป็นเรื่องของOliver Twist เด็กชายกำพร้า วัย9ขวบ ในกรุงลอนดอนสมัยศัตวรรษที่19 (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=upcountry2&month=27-11-2008&group=18&gblog=11) ซึ่งทางVocaTone ก็ไม่ได้รู้สึกถึงความคล้ายกันนี้จนกระทั่งพัฒนาไปเกือบเสร็จแล้ว

       Oliverมักปรากฎคู่กับนกAmerican Goldfinchตัวผู้ ชื่อว่าJames
(นก)James

นกAmerican Goldfinch

        ทางด้านความนิยมแล้วOliverจัดว่าเป็นVocaloidภาษาอังกฤษที่ประสพความสำเร็จมากที่สุดที่เคยมีมา และได้รับความสนใจอย่างมากตั้งแต่เพิ่งประกาศออกมา แม้ตัวเพลงที่ออกมาส่วนมาคุณภาพจะไม่ค่อยดีเพราะมักถูกใช้แบบฝืนให้ร้องนอกแบบที่ออกแบบมาให้รองรับ โดยเฉพาะการนำไปร้องภาษาญี่ปุ่นทั้งๆที่สำเนียงมักจะออกมาแบบที่ประหลาดมากก็ตาม


อ้างอิง
http://vocaloid.wikia.com


วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Tonio

แบบมาตรฐาน

แบบไต้หวัน

ข้อมูลซอฟต์แวร์

 รุ่น Vocaloid2
 ผู้ผลิต Zero-G
 ผู้จัดจำหน่าย Zero-G
                       E-capsule (ไต้หวัน)
                       Crypton (ญี่ปุ่น)
 ภาษาที่รองรับ อังกฤษ
 ผู้ให้เสียง ไม่เปิดเผย
 วันวางจำหน่าย 14  กรกฎาคม 2010
                           7   กันยายน 2011 (ไต้หวัน)
 ราคาจำหน่าย $99.99
 หน้าหลัก

ข้อมูลทางเทคนิค

 Tempo 75 ~ 160 BPM
 Range  Eb3 ~ E5
 แนวเพลงที่แนะนำ โอเปรา,ป๊อบ,คลาสสิค

ข้อมูลตัวละคร

 ชื่่อ Tonio
 เพศ ชาย
 อายุ 27
 น้ำหนัก  6'0" / 183cm (e-capsule)
 ส่วนสูง  160lbs / 73kg (e-capsule)
 ผู้ออกแบบตัวละคร แบบมาตรฐาน Alija (ถ่ายภาพ)
                                แบบไต้หวัน Akru



       Tonioได้เริ่มโครงการต่อจากPrimaจึงยังไม่ได้ใช้แนวทางที่ได้ใช้ในSonica(ที่น่าจะรับมาจากCrypton)
ดังนั้นลักษณะทุกด้านเป็นไสตล์คล้ายๆกับPrima คือออกแบบมาเป็นนักร้องโอเปรามืออาชีพ และมุ่งเข้าตลาดนักแต่งเพลงมืออาชีพเป็นหลัก ซึ่งรูปที่ใช้ในปกของแบบมาตรฐานนั้นเป็นรูปที่แสดงถึงอิมเมจของนักแสดงโอเปราบทนำชาย โดยที่รูปนั้นได้ซื้อมาจากStock Imageของตัวช่างภาพ และในแบบไต้หวัน ก็นำอิมเมจของนักแสดงโอเปร่าชายกับยักษ์,อสูรในอุปรากรตะวันออกมาผสมกัน  ตัวชื่อนั้นย่อมาจากAntonio ที่มาจากภาษากรีกโบราณว่าanthosแปลว่าดอกไม้ บางครั้งTonioจะถูกเรียกว่าBaron Tonio

       Tonioนับได้ว่าล้มเหลวทางด้านการตลาดตั้งแต่ต้น เพราะช่วงที่ออกนั้นดันไปชนกับLilyพอดีทำให้ถูกกลบไปจนมิด ไม่รวมเรื่องแนวทางที่เปลี่ยนไป และอื่นๆอีกมากมาย นอกจากนี้ไม่เคยได้ติดอันดับใดๆทั้งสิ้น


อ้างอิง
http://vocaloid.wikia.com

วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Sonika


แบบต้นฉบับ
แบบมาตรฐาน
แบบไต้หวัน
แบบจีน
แบบจีน(Special edition)

ข้อมูลซอฟต์แวร์

 รุ่น Vocaloid2
 ผู้ผลิต Zero-G
 ผู้จัดจำหน่าย Zero-G
                       E-capsule (ไต้หวัน,จีน)
                       Crypton (ญี่ปุ่น)
 ภาษาที่รองรับ อังกฤษ
 ผู้ให้เสียง ไม่เปิดเผย
 วันวางจำหน่าย 14 กรกฎาคม 2009
                          7   สิงหาคม   2009 (ญี่ปุ่น)
                          7   กันยายน 2011 (ไต้หวัน)
 ราคาจำหน่าย $99.99
 หน้าหลัก

ข้อมูลทางเทคนิค

 Tempo  75 ~ 160 BPM
 Range   G3 ~ D5
 แนวเพลงที่แนะนำ ป๊อบ,เฮ้าส์แดนซ์,อิเล็คโทร

ข้อมูลตัวละคร

 ชื่่อ JP:ソニカ EN:Sonica TH:โซะนิกะ(อิงJP),โซนิกา(อิงEN)
 เพศ หญิง
 อายุ 17
 น้ำหนัก 128lbs / 58Kg
              99lbs / 45kg (ไต้หวัน)
 ส่วนสูง  5'6" / 167cm
               5'3" / 160cm (ไต้หวัน)
 ผู้ออกแบบตัวละคร แบบต้นฉบับ ไม่ระบุ
                                แบบมาตรฐาน Raynkazuya
                                แบบจีน ไม่ระบุ
                                แบบไต้หวัน Shinia



        Zero-Gรู้สึกว่าการที่ใช้เสียงที่ดูเด็กและดูเป็นมือสมัครเล่นกับการนำมาทำเป็นVocaloidนั้น น่าสนใจมากกว่าเสียงของนักร้องมืออาชีพอย่างที่เคยทำๆกันมา เพราะสามารถให้เสียงที่ให้อารมณ์สดใสไร้เดียงสาที่มืออาชีพให้ไม่ได้ (ตรงนี้ข้าเจ้ามองว่าเป็นแค่ข้ออ้าง เพราะช่วงปี2008-2009นั้นเป็นช่วงที่Mikuกำลังดัง แล้วZero-G น่าจะอยากทำให้ดังบ้างมากกว่า แต่ก็ไม่มีอะไรมายืนยันตรงนี้ได้) ซึ่งSonicaเป็นตัวแรกที่วางจำหน่ายด้วยบรรจุภัณฑ์หลายแบบพร้อมๆกันโดยที่ไม่ยกเลิกแบบก่อนหน้า โดยมีแบบมาตรฐานกับแบบจำหน่ายในจีน แต่แบบจำหน่ายในจีนนั้นไม่ได้รองรับภาษาจีนแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามตัวVoicebankภาษาอังกฤษนั้นก็สามารถเลียนเสียงภาษาจีนได้ถึง90เปอร์เซ็นต์

        ชื่อSonikaนั้นมาจากภาษาฮินดีแปลว่า"งดงามดั่งทอง" ซึ่งSonicaได้มีการ์ตูนบนอินเทอร์เน็ตวาดโดยAshผู้ออกแบบBig Al http://sonika-vocaloid.com/comic-strip

        ก่อนหน้าSonica Zero-Gแทบไม่โปรโมตVcaloidของตนเลย การที่จะขายออกไม่ออกอยู่กันเสียงวิจารณ์จากหมู่มืออาชีพล้วนๆถึงคุณภาพของซอฟตแวร์ แต่Sonicaนั้นมุ่งเข้าหาแฟนๆเป็นหลัก(ซึ่งได้วิธีนี้มาจากCryptonอย่างเห็นได้ชัด) ซึ่งทำให้มีแฟนๆมากอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นกับVocaloidภาษาอังกฤษมาก่อน และยังให้รู้จุดด้อยของตัวผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้นกว่าเดิมมากจากการไปคุยกับแฟนๆโดยตรงแทนที่จะฟังจากนักวิจารณ์อย่างที่เคยเป็นมา ซึ่งSonicaเป็นVocaloidตัวแรกที่มีTwitterเป็นของตัวเอง ทำให้สามารถทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวละครได้ https://twitter.com/SonikaVocaloid แต่อย่างไรก็ตามทางZero-Gก็ไม่ได้แสดงความต้องการที่จะพัฒนาSonikaต่อไปในVocaloid3แต่อย่างใด


อ้างอิง
http://vocaloid.wikia.com

วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Exit Tunes



บริษัทแม่ Quake Inc.,
ก่อตั้ง  2001
ผู้นำบริษัท 加藤和宏 Kazuhiro Kato (CEO)
พื้นที่ให้บริการ ประเทศญี่ปุ่น
ที่ตั้ง Tokyo Minato-ku Nishi-shinbashi 2-14-1
เว็บไซต์

สินค้า
 -อัลบัมเพลง
  -รายชื่ออัลบัมเพลงVocaloid

รายชื่่อผลิตภัณฑ์Vocaloid


        Exit Tunesเป็นค่ายเพลงที่จำหน่ายอัลบัมเพลงVocaloidกว่าครึ่ง อีกส่วนหนึ่งเป็นของDwango ที่บริหารNico Nico Douga และบริษัทอื่นๆอีกเล็กน้อยเช่น1st place หรือ Sony Music ไม่รวมที่ทำเป็นโดจินอัลบัม ซึ่งของExit Tunesและบริษัทหล่านี้นั้นสามารถพบได้ตามร้านขายซีดีเพลงทั่วไป(ในญี่ปุ่น)ในขณะที่อันอื่นๆส่วนใหญ่ต้องซื้อตามร้านขายโดจินชิเท่านั้น และหลายครั้งตัวอัลบัมที่Exit Tunesผลิตนั้นได้ติดOricon Daily Album rankingอีกด้วย และอัลบัมVocalogenesis ก็ได้เป็นอัลบัมเพลงVocaloidอัลบัมแรกที่ได้ขึ้นสู่อันดับ1ของชาร์ตรายสัปดาห์

         และในปี2012ก็ได้ออกMAYUเป็นVocaloidตัวแรกของตัวเองออกมา ซึ่งตัวMAYUนั้นในกล่องแบบSpecial packageผลิตจำกัดจำนวน ได้แถมแผ่นซึดีอัลบัมมาให้2แผ่นด้วย ซึ่งเป็นแผ่นรวมเพลงของMAYUล้วนๆ ที่ได้Vocaloid-Pชื่อดังหลายคนมาแต่งให้

Prima



แบบมาตรฐาน

แบบไต้หวัน

ข้อมูลซอฟต์แวร์

 รุ่น Vocaloid2
 ผู้ผลิต Zero-G
 ผู้จัดจำหน่าย Zero-G
                       E-capsule (ไต้หวัน)
                       Crypton (ญี่ปุ่น)
 ภาษาที่รองรับ อังกฤษ
 ผู้ให้เสียง ไม่เปิดเผย
 วันวางจำหน่าย 14 มกราคม 2008
                          22 กุมภาพันธ์ 2008 (ญี่ปุ่น)
                          7   กันยายน 2011 (ไต้หวัน)
 ราคาจำหน่าย $99.99 (60ปอนด์)
 หน้าหลัก

ข้อมูลทางเทคนิค

 Tempo  75-160 BPM
 Range  Eb3-E5
 แนวเพลงที่แนะนำ โอเปร่า,ป๊อบ,คลาสสิค

ข้อมูลตัวละคร

 ชื่่อ Prima
 เพศ หญิง
 อายุ 18 (ไต้หวัน)
 น้ำหนัก 92.4lbs / 42kg (ไต้หวัน)
 ส่วนสูง 5'1" / 156cm (ไต้หวัน)
 ผู้ออกแบบตัวละคร แบบมาตรฐาน Raynkazuya(ถ่ายภาพ)
                                แบบไต้หวัน Loiza


       Primaเป็นVocaloidที่ทำมาโดยมุ่งหวังกลุ่มผู้ใช้มืออาชีพ สังเกตได้จากการที่ปกกล่องแบบมาตรฐานนั้นไม่ได้ทำมาเข้าหากลุ่มแฟนๆ โดยที่รูปนั้นเอามาจากรูปในเว็บไซต์stock photo ซึ่งได้ซื้อลิขสิทธิภาพถ่ายมาใช้ และในช่วงที่Primaออกมานั้นเป็นช่วงที่Mikuกำลังทำให้วงการVocaloidรุ่งเรื่องแยู่ ทางZero-GจึงนำVocaloidตัวก่อนๆของตนเองมาจำหน่ายใหม่พร้อมกับการวางจำหน่ายPrima แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับที่ดีนัก (ส่วนหนึ่งมาจากการที่ตัวบรรจุภัณฑ์ยังเป็นแบบเก่า ซึ่งไม่น่าดึงดูดแม้แต่น้อย)  อย่างไรก็ตามตัวPrimaเองก็ได้รับการตอบรับค่อนข้างดี

       ชื่อPrimaมาจากคำว่าPrima donna เป็นภาษาอิตาลี่แปลว่า"first lady."หมายถึงนักแสดงนำหญิงในการแสดงโอเปร่า ซึ่งก็ตรงกับอิมเมจของPrimaที่ใช้นักร้องเสียงโซปราโน่มาให้เสียง ซึ่งตัวเสียงโซปราโน่นั้นมักจะได้เป็นนักร้องนำหญิงของการแสดงโอเปร่า แต่ที่จริงแล้วในปัจจุบันคำว่าPrima donna นั้นมีความหมายในเชิงลบหมายถึง บุคคลเห็นแก่ตัว,หยิ่งพยอง,น่ารังเกียจหรือทำงานด้วยยาก แต่ก็ยังมีความจำเป็นต่อการทำงานให้ประสพความสำเร็จ


อ้างอิง
http://vocaloid.wikia.com

วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Big Al

แบบดั้งเดิม

แบบมาตรฐาน
แบบไต้หวัน

ข้อมูลซอฟต์แวร์

 รุ่น Vocaloid2
 ผู้ผลิต Power FX
 ผู้จัดจำหน่าย Power FX
                       E-capsule (ไต้หวัน)
                       Crypton (ญี่ปุ่น)
 ภาษาที่รองรับ อังกฤษ
 ผู้ให้เสียง Frank S.
                Michael King
 วันวางจำหน่าย 22 ธันวาคม 2009
                          3   มีนาคม 2010 (ญี่ปุ่น)
                          7   กันยายน 2011 (ไต้หวัน)
 ราคาจำหน่าย $129
 หน้าหลัก

ข้อมูลทางเทคนิค

 Tempo  70 ~ 145 BPM
 Range  G1 ~ D3
 แนวเพลงที่แนะนำ คันทรี,คลาสสิคร็อต,บลู

ข้อมูลตัวละคร

 ชื่่อ Big Al
 เพศ ชาย
 อายุ 25
         21 (ไต้หวัน)
 น้ำหนัก 6'4" / 193cm
              6'1" / 185cm (ไต้หวัน)
 ส่วนสูง 190lbs / 86kg
              160lbs / 73kg (ไต้หวัน)
 ผู้ออกแบบตัวละคร แบบดั้งเดิม ไม่ระบุ
                                แบบปกติ Ash
                                แบบไต้หวัน Loiza


        Big Alเป็นVocaloidตัวเดียวที่มีผู้ให้เสียงหลายคน โดยที่Michel Kingเป็นผู้ให้เสียงคนแรก ซึ่งตัวMichelนั้นเป้นนักร้องเลียนแบบElvis Presley นักร้องเพลงร็อคแอนด์โรลระดับตำนาน แต่เมื่อเสียงDemoออกไปก็ถูกวิจารณ์ว่าคุณภาพดีไม่พอ Power FXจึงติดต่อMichelเพื่อบันทึกเสียงใหม่ แต่ตัวMichelกลับติดงานออกทัวร์คอนเสิร์ตไม่สามารถมาให้เสียงได้ จึงต้องเอาตัวFrank S. ที่เป็นอดีตลูกจ้างของPower FXมาให้เสียงในการปรับปรุงครั้งนั้น และทำให้ต้องเปลี่ยนอาร์ตเวิร์คสำหรับบรรจุภัณฑ์ให้เข้ากับเสียงและยุคด้วย ซึ่งเดิมนั้นใช้แนวทางแบบโปสเตอร์ภาพยนต์ยุค20 แบบเดียวกับSweet Ann ไปเป็นแบบที่เป็นการ์ตูนมากขึ้น ซึ่งช่วงนั้นเป็นช่วงที่VocaloidของCryptonกำลังรุ่งเรือง ทำให้แนวทางด้านคาแรคเตอร์ได้ถูกฝั่งตะวันตกนำไปพยายามปรับใช้ โดยเริ่มจากSonicaของZero-G และตัวAsh ผู้ออกแบบBig-Alนั้นเป็นผู้วาดการ์ตูนโปรโมตSonicaอีกด้วย ซึ่งการออกแบบนั้นทุกแบบได้แบบมาจากภาพยนต์เรื่องBride of Frankenstein ซึ่งถือว่าเป็น1ในภาพยนต์สยองขวัญคลาสสิค เช่นเดียวกับSweet Ann



        แต่เมื่อวางจำหน่ายก็ได้เกิดปัญหากับการจำหน่ายแบบดิจิตัลโดยที่ลูกค้าที่จ่ายเงินไปกลับไม่สามารถดาวน์โหลดได้ ซึ่งทางPower FXได้รีบแก้ไขและมอบคูปองมูลค่า$50สำหรับซื้อสินค้าอื่นๆเป็นการขอโทษ

        การเปลี่ยนอาร์ตเวิร์คแบบฉับพลันตั้งแต่ก่อนวางจำหน่ายของBig-Alนั้นทำให้เข้าใจถึงลักษณะปัจจัยทางการตลาดของVocaloidที่ไม่เหมือนซอฟต์แวร์อื่นๆได้เป็นอย่างดี ซึ่งการเปลี่ยนจากแนวโปสเตอร์ยุค20ไปเป็นแบบปัจจุบันนั้น ช่วงแรกๆทำให้เกิดความสับสนบ้างแต่ก็ทำให้ความนิยมเพิ่มขึ้นเป้นอย่างมาก

เกร็ด
-Big Alมักโดนจับล้อกับTakakazu Abeส่วนหนึ่งมาจากหน้าตาและท่าทางในเวอร์ชันมาตรฐานที่คล้ายคลึงกัน

-เป็นที่มาของคำว่าBig Al syndrome (โรคBig Al) หมายถึงการเลื่อนการวางจำหน่าย ที่มักจะพบในVocaloidเสียงผู้ชาย



อ้างอิง
http://vocaloid.wikia.com


วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Sweet Ann

แบบมาตรฐาน
แบบไต้หวัน


ข้อมูลซอฟต์แวร์

 รุ่น Vocaloid2
 ผู้ผลิต Power FX
 ผู้จัดจำหน่าย Power FX
                       E-capsule (ไต้หวัน)
                       Crypton (ญี่ปุ่น)
 ภาษาที่รองรับ อังกฤษ
 ผู้ให้เสียง ไม่เปิดเผย ทราบข้อมูลเพียงว่าเป็นนักร้องชาวออสเสตรเลียที่ใช้ชื่อว่าJody
 วันวางจำหน่าย 29 มิถุนายน 2007
                          21 กันยายน 2007
                          7   กันยายน 2011
 ราคาจำหน่าย $129
 หน้าหลัก

ข้อมูลทางเทคนิค

 Tempo  65 ~ 155 BPM
 Range  C3 ~ C5
 แนวเพลงที่แนะนำ คันทรี,คลาสสิคร็อต

ข้อมูลตัวละคร

 ชื่่อ Sweet Ann
 เพศ หญิง
 อายุ 23
 น้ำหนัก 5'4" / 162cm
 ส่วนสูง 101lbs / 46kg
 ผู้ออกแบบตัวละคร แบบปกติ ไม่ระบุ
                                แบบไต้หวัน Vofan


       Sweet Annเป็นVocaloid2ตัวแรกสุดที่ออกมา ซึ่งตอนที่ออกมานั้นใช้วิธีเดียวกับMikuคือไม่มีการเปิดให้สาธารณะชนได้ทดสอบก่อนหน้า แม้ว่าSweet Annเป็นVocaloidฝั่งตะวันตกตัวแรกที่มีคาแรคเตอร์Avatar แต่ก็ไม่ได้เป็นตัวเริ่มแนวคิดเกี่ยวกับความสำคัญของคาแรคเตอร์ จนกระทั่งMikuประสพความสำเร็จ โดยที่Sweet Annนั้นได้แบบมาจากภาพยนต์เรื่องBride of Frankenstein ซึ่งถือว่าเป็น1ในภาพยนต์สยองขวัญคลาสสิคกับไซบอร์ค และเมื่อดูชุดของเวอร์ชันไต้หวันแล้ว จะเห็นได้ว่าคล้ายกับชุดเจ้าสาวรวมกับแฟชันแนวSteam Punkอีกด้วย และตัวชื่อของเธอนั้นมาจากSwedenที่เป็นประเทศที่ตั้งของPower FX

         ในด้านความนิยมแม้ว่าในช่วงแรกๆความนิยมจัดว่าดีมากสำหรับVocaloidภาษาอังกฤษ และเสียงวิจารณ์ไปในทางที่ดี และมีความสมจริงของเสียงสูงสุดในยุคนั้น แต่ความนิยมก็ค่อยๆตกลงไปในที่สุด แม้จะมีการเปลี่ยนBox Artสำรับเวอร์ชันไต้หวันก็ตาม แต่ก็ยังสามารถพบการใช้งานได้ในProject Diva Arcadeในการร้องเสียงพื้นหลังของบางเพลง


อ้างอิง
http://vocaloid.wikia.com


วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Power FX


ชื่อบริษัท PowerFX Systems AB.
ก่อตั้ง  1995
ผู้นำบริษัท Bil Bryant (CEO)
พื้นที่ให้บริการ ยุโรป
ที่ตั้ง กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน
เว็บไซต์

สินค้า
 -ซอฟต์แวร์
 -จับจ่ายออนไลน์
 -สอนดนตรี
 -ผลิตสื่อตามสั่ง

รายชื่่อผลิตภัณฑ์Vocaloid

 Sweet Ann
 Big Al
 Oliver
 YOHIOloid

        Power FXเป็นบริษัทที่2ที่รับข้อเสนอของCryptonในการพัฒนาVocaloidภาษาอังกฤษ Power FXนั้นเป็นบริษัทแรกที่ทำการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใหม่ เนื่องจากเสียงตอบรับจากแฟนๆไม่ค่อยดี โดยที่ในตอนแรกPower FX ใช้รูปที่ได้ไสตล์มาจากโปสเตอร์ภาพยนต์ยุค20มาใช้ แต่ก็ต้องปรับเป็นลายเส้นที่ออกแนว อนิเมะกับแนวตะวันตกผสมกันแทน ซึ่งแทบทุกตัว(ยกเว้นYOHIOloidที่ยังไม่มีการยืนยันอาร์ตเวิร์ค) ล้วนได้แบบมาจากสัตว์ประหลาด ในนิยายสยองขวัญและวิทยาศาสตร์คลาสสิค ซึ่งสาเหตุที่มีการเลือกใช้สัตว์ประหลาดมาเป็นแบบนั้นทาง Bil Bryant ได้บอกว่าเป็นเพราะต้องการให้เป้นเอกลักษณ์ และที่ปรับให้เป็นแนวการ์ตูนในภายหลังเพราะเห็นว่าแบบนี้จะดูน่าจดจำและขายออกง่ายมากกว่าแบบเดิม และยังไม่ทำให้ผู้ใช้ออกห่างอีกด้วย (ซึ่งดูแล้วค่อนข้างที่จะได้ผล) แม้จะทำให้เกิดความสับสนบ้างก็ตาม

        ในทางการตลาดPower FXกับZero-Gมักทำแบบใช้แผนร่วมกันเช่นการเปลี่ยนอาร์ตเวิร์คหรือการวางแผนที่จะอัพเดตตัวเก่าๆทันทีที่ผลิตภัณฑ์Vocaloidภาษาอังกฤษประสพความสำเร็จมากกว่านี้ เห็นได้จากที่ผลิตภัณฑ์หลังๆนี้ดูแล้วพยายามเจาะตลาดตะวันออกที่เป็นฐานลูกค้าVocaloidแหล่งใหญ่มากขึ้น


อ้างอิง
http://vocaloid.wikia.com


VY1


Vocaloid 2
ปกกล่องแบบปกติ
Deluxe Edition

Vocaloid3

First Edition

Second Edition


ข้อมูลซอฟต์แวร์

 ชื่อ VY1
 รุ่น Vocaloid2 Vocaloid3
 ผู้ผลิต YAMAHA
            Bplats, Inc.
 ผู้จัดจำหน่าย Bplats, Inc.
 ภาษาที่รองรับ ญี่ปุ่น
 ผู้ให้เสียง ไม่ระบุ
 ผู้วาดรูปบนบรรจุภัณฑ์
                           Vocaloid2 ไม่ระบุ
                           VY1v3+SE Manbou no ane
 เพศ ไม่ระบุ (เสียงแบบเพศหญิง)
 วันวางจำหน่าย  Vocaloid2 1 กันยายน 2010
                           VY1v3     21 ตุลาคม 2011
                           VY1v3SE 20 มีนาคม 2013
 ราคา    VY1   11,800เยน
             VY1v3 9,800เยน
 สถานะ VY1 ปลดระวาง แทนที่ด้วยVY1v3
             VY1v3(first edition) หยุดการจำหน่าย แทนที่ด้วยVY1v3SE(Second Edition)
 หน้าผลิตภัณฑ์ VY1
                          VY1v3

ข้อมูลทางเทกนิค

 VY1
  ไม่ระบุ

 VY1v3+SE
  Tempo 60 ~ 175BPM
  Range F2 ~ E4


       VY1เป็นVocaloidฝั่งญี่ปุ่นตัวแรกที่ไม่มีการระบุคาแรคเตอร์อย่างเป็นทางการลงไป และได้ถูกใช้ในการให้เสียงCULในรายการVOCALO Revolution ก่อนที่CULจะมีVocaloidเป๋็นของตัวเอง ทำให้อาจเกิดความสับสนในการค้นหาเพลงของCULแต่กลับเจอเพลงของVY1ได้ ในจุดนี้ขอแนะนำให้ระวังไว้ และอ่านชื่อVocaloidที่ใช้ร้องให้ดีๆ

       VY1เป็นVocaloidตัวแรกที่ทางYAMAHAมาผลิตเองโดยตรงโดยมีCode Nameในการพัฒนาว่าMizki (ซึ่งของVY seriesจะประหลาดกว่าตัวอื่นๆที่ปกติCode Nameจะมีลักษณะเป็นรหัสการพัฒนามากกว่าเช่นMikuใช้CV01เป็นต้น แต่กลับใช้ลักษณะที่ดูเหมือนชื่อแทนซึ่งกลับกันกับปกติ) และจากการที่VY seriesไม่มีคาแรคเตอร์อย่างเป็นทางการ YAMAHAจึงจัดการประกวดแฟนอาร์ต ตามอิมเมจของVocaloidตัวนั้นๆ ซึ่งดีไซน์นี้ได้ถูกใช้ในการโปรโมตต่อไป และVY1ได้ดีไซน์ของRimikoเป็นผู้ชนะการประกวด ในดีไซน์ที่ชื่อว่า鼓舞志 菊(Kiku Kobushi,คิกุ โคะบุฌิ)
     
       ตัวVoicebankแม้จัดว่ามีคุณภาพและความสมบูรณ์ที่สูงมากส่วนหนึ่งมาจากการที่YAMAHAมาพัฒนาเอง แต่ก็ไม่ค่อยประสพความสำเร็จมากนัก ส่วนหนึ่งจากการที่ไม่มีคาแรคเตอร์อย่างสมบูรณ์ทำให้แรงจูงใจในการที่จะนำไปแต่งเพลงลดลงไปมาก โดยเฉพาะกับนักแต่งเพลงที่มีประสพการณ์ ซึ่งส่วนมากมีความผูกผันกับVocaloidที่มีคาแรคเตอร์ เพราะทำให้กำหนดอิมเมจของเสียงออกมาได้ง่ายกว่า

        สำหรับรุ่นVocaloid3นั้นเป็นการปรับปรุงของเก่าเป็นหลักโดยเพิ่มลูกเล่นต่างๆของVocaloid3เข้าไป แต่ก็ไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงอะไรมากมาย จนผู้ที่มีของVocaloid2อยู่แล้วแทบไม่มีความจำเป็นใดๆที่ต้องซื้อใหม่ และได้มีการออกSecond Editionตามมาโดยเพิ่มปลั๊กอินสำหรับตัวVocaloid3 Editorมา แต่่สำรับผู้ที่มีของเดิมอยู่แล้ว สามารถดาวน์โหลดปลั๊กอินเหล่านั้นไปติดตั้งเองได้



อ้างอิง
http://vocaloid.wikia.com