หนังสือพิมพ์ El Universo ประเทศเอลกวาดอร์ วันที่ 8 กันยายน 2010
"การที่เราจะรักในไอดอลที่ถูกสร้างขึ้นทางดิจิตอล มันกำลังเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ และวันนี้สิ่งเสมือนกับความเป็นจริงเริ่มที่จะรวมกันแล้ว"
"ไอดอลถือเป็นส่วนสำคัญของสังคมญี่ปุ่นปัจจุบัน และแนวคิดเรื่องไอดอลเสมือนจริง มีความสะดวกที่จะไปทำให้คงความนิยมอยู่ได้นาน เพราะพวกเขาไม่มีวันแก่หรืออ่อนเพลียเกินกว่าที่จะไปจัดคอนเสิร์ตได้"ในความเห็นทั้ง2อันนั้นสื่อกลายๆว่าผู้เขียนข่าวและผู้ถูกสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูลเห็นพ้องกันว่าVocaloid จะเป็นตัวที่ทำให้เส้นแบ่งทางเทคโนโลยีความบันเทิงพังทลายลงได้ และเป็นการปฎิวัติความบันเทิงเลยทีเดียวที่มีกล่าวว่า"พวกเขาไม่มีวันแก่หรืออ่อนเพลียเกินกว่าที่จะไปจัดคอนเสิร์ตได้" เพราะนักร้องที่เป็นคนจริงมากมายมักวางมือแขวนไมค์เมื่อแก่ตัวลงหรือมีปัญหาใดๆ ถ้ามีนักร้องที่จะอยู่ไปได้ตลอดกาล ก็เท่ากับเป็นไปได้ว่าสามารถรวมคนไว้ด้วยกันได้ตลอดกาล โดยมีสิ่งเสมือนเป็นศูนย์กลาง
จากหนังสือพิมพ์ Metro ประเทศอังกฤษ วันที่21 ต.ค. 2010
ข่าวนี้เป็นสื่อต่างชาติอันแรกๆที่พูดถึงVocaloid ในข่าวนี้ได้ให้ความคิดเห็นต่อคอนเสิร์ตVocaloidว่า
"ที่มันน่าตกใจไม่ใช่ตัวโฮโลแกรม3มิติ แต่เป็นผู้ชมที่แน่นขนัดต่างหาก มันจะรู้สึกยังไงถ้าคุณเป็นนักดนตรีแล้วพบว่า นักร้องเสมือนจริงมีคนรักมากกว่าคุณ"ซึ่งความคิดเห็นนี้แห็นได้อย่างชัดเจนว่าผู้ที่เขียนบทความข่าวนี้ทึ่งที่สิ่งเสมือนจริงกลับได้รับความนิยมมากกว่านักร้องนักดนตรีจริงๆบางคนเสียอีก ส่วนที่อยู่ในด้านมุมขนขวาของหนังสือพิมพ์นั้น พูดถึงGorillazซึ่งเป็นนักร้องเสมือนที่ออกมาในปี2005จัดว่าเป็นรุ่นพี่ของVocaloid แม้จะประสพความสำเร็จมาก แต่ก็ไม่ประสพความสำเร็จและแพร่หลายเท่าเท่าVocaloid ซึ่งตัวGorillazนั้นต่างจากVocaloidโดยสิ้นเชิง สาเหตุนั้นเป็นเพราะGorillazเป็นซอฟต์แวร์ปิด มีเพียงเจ้าของลิขสิทธิเท่านั้นที่ใช้ได้ ทำให้ไม่แพร่หลาย และไม่คุ้มทุนมหาศาลในการพัฒนา ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้วจะเข้าใจได้เลยว่าเหตุใดVocaloidจึงประสพความสำเร็จ ซึ่งจะเขียนในโอกาสหน้า
กรณีCBS NEWS
ข่าวนี้แม้เนื้อหาข่าวจะเกี่ยวกับVocaloidแบบทั่วๆไปที่สื่อต่างๆทั่วโลกลงกัน แต่ประเด็นนั้นเกิดจากหัวข้อข่าวที่มีความหมายทำนองว่า "Hatsune Miku นัีกร้องจอมปลอมระดับโลก" ทำให้ข่าวตัวนี้ถูกวิพากย์วิจารย์อย่างหนัก จากการตั้งชื่อ ซึ่งเมื่อข้าเจ้าลองวิเคราะห์ดูแล้วจากเนื้อข่าวแล้ว ก็ไม่พบปัญหาใดๆอีกนอกจาก การที่เห็นได้ชัดเจนว่าผู้เขียนบทความรู้สึกว่า ตัวผู้เขียนบทความนั้นมองแฟนๆเหมือนกับคนที่ห้อมล้อมความว่างเปล่าอยู่ หรือก็คือยังรับไม่ค่อยได้กับตัวตนเสมือนเช่นหลายๆคนที่ มีปัญหากับแฟนๆVocaloidเพราะการวิจารณ์หรือความคิดเห็นของตน
จากรายการ Le Grand Journal ประเทศฝรั่งเศษ
ส่วนสื่อของประเทศต่างๆนอกจากนี้ล้วนนำเสนอโดยมองแง่มุมด้านความนิยมและเทคโนโลยีเป็นหลัก
กรณีWilliam Gibson
กรณีนี้เกิดจากการที่William Gibson นักแต่งนิยายวิทยาศาสตร์ผู้บุกเบิกไซเบอร์พังค์ ได้ทวิตว่า
"Hatsune Miku doesn’t really rock me. I want higher rez, less anime."ทำให้เกิดเสียงวิพากย์วิจารย์จากหมู่แฟนๆในเชิงลบต่อโพสนี้ และเรื่องได้ลามไปถึงญี่ปุ่น
"Hatsune Miku ทำให้ฉันประทับใจไม่ได้ ฉันอยากได้อะไรที่ชัดเจนมากกว่ากว่าและเป็นอนิเมะน้อยกว่านี้"
http://togetter.com/li/70066 จนHiroyuki Itoh CEOของCryptonได้ออกมาตอบโต้ความว่า
"นั่นสินะWilliam Gibsonทวีตเกี่ยวกับMiku และฉันก็ได้อ่านNeuromancer(ผลงานสร้างชื่อของGibson)ตั้งแต่20ปีก่อนแล้ว เมื่อลองคิดดูแล้วมันเป็นเรื่องที่ล้ำยุคมากสำหรับสมัยนั้น แต่ตอนนี้อนาคตนั้นเป็นจริงแล้ว เราน่าจะรู้สึกตัวได้แล้วอนาคตมันไม่ได้มีไว้ให้ตื่นเต้นอย่างไร้สาระ"ซึ่งความหมายที่สื่อออกมาคือตัวVocaloidนั้นก็ถือว่าล้ำยุคเกินสำหรับสมัยนี้ เหมือนกับผลงานของGibsonเอง และต่อไปอนาคต(ยุคที่สิ่งเสมือนกับความเป็นจริงรวมกัน)นั้นจะเป็นจริง เช่นเดียวกับหลายๆอย่างที่เคยเป็นเพียงความคิดเพ้อฝันในนิยายวิทยาสาสตร์ ที่ดูแล้วไร้สาระสำหรับคนสมัยนั้น แต่ในปัจจุบันก็เป็นจริงไปแล้วหลายอย่าง
ตัวGibsonเองก็ได้ทวีตในเชิงขอโทษว่า
"Hatsune Miku is clearly a more complex phenomenon than I initially assumed. Requires further study."ซึ่งก็ปฎิเสธไม่ได้ว่าสถานะของVocaloidนั้นไม่เหมือนกับนักร้องเสมือนจริงก่อนๆหน้าในแทบทุกด้าน ทำให้อาจเข้าใจยากสำรับผู้ที่คุ้นชินกับนักร้องเสมือนจริงแบบเก่าโดยเฉพาะชาวตะวันตก เพราะVocaloidหยั่งลงไปในหลายๆด้านมากๆ และสาเหตุที่ทำให้ผู้แฟนๆเยอะก็เช่นกัน ล้วนแต่แตกต่างจากทุกตัวที่มาก่อน
"ฉันเข้าใจชัดเจนแล้วว่า Hatsune Miku เป็นปรากฎการณ์ที่ซับซ้อนเกินกว่าที่ฉันจะเข้าใจได้ตั้งแต่แรกเห็น ฉันต้องไปศึกษาเพิ่มอีก"
ทวิตเตอร์ของWilliam Gibson
LA Magazine
http://www.latimesmagazine.com/2012/06/i-sing-the-body-electric.html
แปล
http://akibatan.com/2012/07/article-hatsune-miku-i-sing-the-body-electric/
จากบทความนี้ขอยกให้เป็นบทความที่แสดงมาได้ชัดเจนที่สุด ซึ่งเห็นได้เลยว่าผู้ใหญ่ในสังคมตะวันตกส่วนมากปฎิเสธสิ่งที่ไม่ตัวตน อย่างกรณีเว็บTop10ที่ถือว่าเป็นเว็บจัดอันดับระดับต้นๆ ที่ผู้ดูแลควรมีวิจารณญาณกลับมาแสดงออกเช่นนี้ และมีอีกกลุ่มหนึ่งที่ต่อต้านVocaloidคือกลุ่มที่มองว่าVocaloidที่เป็นวัฒนธรรมของญี่ปุ่นจะมาแย่งความนิยมของกลุ่มตนเช่นกลุ่มK-pop ซึ่งกลุ่มนี้มักมาก่อกวนวงการเพลงVocaloidเป็นระยะๆ เช่นการแจ้งลิขสิทธิเท็จเพื่อลบเพลงออกจากYoutube ซึ่งจากการตรวจสอบผู้แจ้งลบทำให้หลายคนเชื่อว่าเป็นไปได้ที่ทางผู้คลั่งไคล้ในK-popเป็นตัวต้นเหตุ
ส่วนความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญส่วนมากออกแนวที่จะพูดถึงในด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวัฒนธรรมเป็นสำคัญ
http://www.the-top-tens.com/lists/singers-perform-london-olympics-opening-ceremonies.asp
http://www.the-top-tens.com/items/hatsune-miku-391821.asp
ในการโหวตของTop10นั้น ตัวข้าเจ้าเองได้ไปอ่านความคิดเห็นของผู้โหวต เห็นได้ว่าชาวตะวันตกส่วนใหญ่ชอบVocaloidในฐานะที่เป็นผลผลิตของเทคโนโลยีหลายๆด้านของยุคปัจจุบัน และแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีนั้นไปใช้ทำอะไรได้ บ้างก็มองในเสน่ห์ที่สามารถเป็นอย่างไรก็ได้ตามที่ต้องการ บ้างก็มองในฐานะตัวที่จะแสดงให้เห็นถึงการปฎิวัติในเรื่องที่เคยกล่าวไว้ในบทความของEl Universoว่า"วันนี้สิ่งเสมือนกับความเป็นจริงเริ่มที่จะรวมกันแล้ว" และยังสามารถรวมคนทั้งโลกเข้ากันได้ ซึ่งเรื่องนี้จะเขียนในครั้งต่อๆไปถึงความนิยมของทั้งโลก
ผิดกับนักร้องที่เป็นคนจริงๆหลายคนในโพลเดียวกันข้าเจ้ามองว่าเหตุผลที่เขาเลือกกันนั้นไร้สาระสิ้นดีเมื่อเทียบกับของMikuที่ถูกยกมาใส่ในโพล เพราะส่วนมากเหตุผลทำนองแค่ว่า "พวกเขาดัง" "ฉันชอบพวกเขา" "เพลงพวกเขาเจ๋ง"แค่นี้วนเวียนไปๆมาๆ มีที่เห็นว่าเหตุผลดีข้าเจ้าเห็นว่ามีแค่เลดี้กาก้าคนเดียวเท่านั้นเพราะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองไม่ตามใครที่เรียกได้ว่าตรงกันข้ามกับเอกลักษณ์ของVocaloidอย่างสมน้ำสมเนื้อ
ปฎิกิริยาแรกเห็น
เราต้องขอบคุณYoutubeที่มีคลิปReactฝรั่งมากมาย เพราะเรื่องแบบนี้แม้มีข้อมูลจากสื่อกับคนดังๆ ยังไงก็ไม่ใช่เสียงที่แท้จริง การไปถามแฟนๆก็ด้วยเหมือนกัน ข้าเจ้าคิดว่าการไปถามจากความรู้สึกของผู้เห็นครั้งแรกที่เป็นชาวบ้านธรรมดาจะได้ข้อมูลเป็นกลางมากที่สุด
และต้องขอคุณแชเนลTheFineBrosและคนอื่นๆในYoutubeที่ทำแบ่งตามวัยทำให้เห็นชัด เรื่องความแตกต่างทางเจนเนเรชันของมนุษย์ต่อมุมมอง
และต่อจากนั้นในนาทีที่2.15 มีการถามว่าคิดอย่างไรกับเสียง ก็มีตอบหลักๆ2แบบคือ 1.เสียงดี 2.เสียงแหลมแสบหู และเมื่อนาทีที่2.28ที่บอกพวกเขาไปว่าเป็นเสียงสังเคราะจากคอมพิวเตอร์ส่วนมากมีที่ท่าเริ่มรับได้กันแล้ว แต่ทีท่าทึ่งตกตะลึงยังมีกันอยู่ในหมู่เด็กเล็ก
อีกจุดที่สำคัญนาทีที่4.42 เมื่อพิธีกรถามว่าคิดอย่างไรกับการที่สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นเป็นที่นิยม ก็มีความเห็นทำนองว่า มันดูว่างเปล่า มันไร้บุคลิค (ซึ่งจุดนี้ที่จริงเป็นจุดเด่นหลักของVocaloidเลยทีเดียว) กับความเห็นทำนองว่ามันเจ๋งดี
แต่ที่ข้าเจ้าทึ่งเมื่อได้ยินคือ ในนาทีที่5.03 กับคำว่า"Future is here"(อนาคตอยู่ที่นี่) ซึ่งขอให้ลองย้อนไปอ่านคำตอบของHiroyuki Itoh CEOของCrypton ในกรณีWilliam Gibson นี่ยิ่งยืนยันคำพูดนั้นได้ และหลังจากนั้นที่ผู้หญิงคนนั้นบอกว่า กลัว ในจุดนี้เมื่อลองมองถึงมุมมองต่อสิ่งเทียมมนุษย์อย่างเช่นหุ่นยนต์ สื่อฝั่งตะวันตกมักจะสื่อมาในเชิงน่ากลัวเป็นอันตรายต่อมนุษย์ แต่ฝั่งตะวันออกมักจะสื่อทำนองว่าเป็นมิตรกับมนุษย์ ซึ่งจุดนี้ทำให้เข้าใจสาเหตุที่เกิดการไม่ยอมรับสิ่งเทียมมนุษย์รวมถึงVocalidด้วย ในเชิงสังคม ทางฝั่งตะวันตกมากกว่าตะวันออก ซึ่งก็เห็นชัดขึ้นในท่อนต่อๆไป ที่ส่วนใหญ่เห็นว่ายังไงก็ไม่มีทางได้รับความนิยมเท่ามนุษย์ได้
ส่วนอันนี้เป็นของ Andrea Val
และมีอีกมากมายที่เป็นรายย่อยๆแต่เห็นว่า3ตัวนี้ได้ข้อมูลมาดีที่สุด
ดูเพิ่มเติม
ที่สังเกตุได้จากทุกข่าว ทุกสื่อ เห็นได้ว่าฝั่งตะวันตกมักจะรู้จักMiku มากกว่าตัวอื่นๆ จนสื่อต่างๆเอาชื่อMikuไปลงเป็นหลักแทนที่จะลงถึงVocaloidเป็นหลัก และคอนเสิร์ตในลักษณะนี้ของบริษัทอื่นก็มีเช่นกันแต่ไม่เด่นเท่า ทำให้เข้าใจถึงความสำเร็จทางการตลาดของCrypton แต่มองอีกมุมหนึ่งก็เห็นได้ว่า ทั้งหมดแทบไม่มีใครรู้ลึกรู้จริงลงไปถึงรากฐาน ทั้งทางวัฒนธรรม เทคโนโลยี การตลาด และอื่นๆมากมายที่ทำให้Vocaloidประสพความสำเร็จ หรือรู้แต่ไม่สามารถเขียนลงไปได้ ด้วยพื้นที่ที่จำกัดหรืออะไรก็ตามแต่ ทำให้ผู้มาเห็นจะรู้สึกว่ามันว่างเปล่าไร้แก่นสารได้ (แต่ทางตะวันออกก็มีสื่อที่เขียนข่าวทำนองนี้เช่นกัน) และบางคนเอาไปเปรียบเทียบกับทู-แพ็ค ไม่ก็Gorrilazซึ่งมันไม่เหมือนกันซึ่งข้าเจ้าจะอธิบายในภายหลัง นอกจากนี้ยังมีคนที่ชอบแต่ไม่รู้จริงอีกมาก ซึ่งข้าเจ้าไปพบมากับตัว (นึกว่าUTAUเป็นชื่อVocaloidตัวหนึ่ง) แต่ก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีมาก กับการที่ถูกกระจายผ่านสื่อต่างๆเช่นนี้
ทางด้านวัฒนธรรม เท่าที่สังเกตข้อแตกต่างระว่างตะวันตกตะวันออก ส่งผลต่อความนิยมอย่างมาก คือทางตะวันตกต้องการนักร้องที่มีความเป็นมนุษย์สูง เห็นได้จากการที่นักร้องฝรั่งถ้าไม่เกรียนโคตรๆแบบบีเบอร์ไม่ว่าจะอะไรยังไง แฟนๆก็ไม่หนี ไม่ว่าทำใครท้อง ไปได้เสียกับใคร คบกับใคร แต่ฝั่งญี่ปุ่นไม่ใช่ ที่ญี่ปุ่นหากคุณนักร้องที่เป็นไอดอล คุณต้องบริสุทธิไร้ที่ติ มีข่าวเสียๆหายๆไม่ได้แม้แต่น้อย หากมีแม้แต่นิดเดียวแฟนๆจะหันมาฆ่าคุณแทน อย่างเคสอายะกับไอดอลหลายๆคน เพราะอย่างนี้Vocaloid เรียกได้ว่าเป็นไอดอลในอุดมคติ เพราะไม่มีตัวตนจริงๆ ให้ไปทำเรื่องที่จะเสื่อมเสียชื่อเสียงด้วยตัวเองใด้ ในขณะเดียวกันก็ไปตรงข้ามกับวัฒนธรรมตะวันตก ที่เน้นเรื่องความใกล้ชิดกับแฟนๆมากกว่า ซึ่งด้วยเทคโนโลยีในปัจุบันยังไม่สามารถตอบสนองเรื่องนี้ได้โดยสมบูรณ์ ถึงทำได้ฝั่งตะวันตกก็คงไม่ยอมรับสิ่งเทียมมนุษย์เท่าใดนัก เพราะวัฒนธรรมตะวันตกเน้นเรื่องเหตุผลหนักมากกว่าจินตนาการ ดังที่เห็นได้ชัดเจนจากคลิปปฎิกิริยาของผู้สูงอายุ
ส่วนด้านความสนใจนั้นสังเกตุได้ว่ามักจะสนใจเรื่องเทคโนโลยีกันมากกว่าคาแรคเตอร์ ก็ไปหนุนที่กล่าวมาข้างต้นอีก และมีบ้างที่สนใจในเรื่องของความนิยม เช่นจากสื่อต่างๆ และจากคลิปปฎิกิริยาก็เห็นได้เช่นกัน และก็เห็นได้ว่าสื่อไม่สื่อลึกพอ เพราะมีคนเข้าใจว่าต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงทำ เพราะทุกสื่อมีแต่เอาคอนเสิร์ตโฮโลแกรมมาลง ไม่มีสือไหนๆเอาPVเพลงธรรมดามาลงเลยสักแหล่ง ผู้จัดทำคลิปปฎิกิริยาก็เช่นกัน ถ้าเอาPVธรรมดาๆมาลง ก็จะทำให้เข้าใจว่าทุกคนมีส่วนร่วมได้อย่างไร ซึ่งจะอธิบายในภายหลัง ถึงโครงสร้างของวัฒนธรรมVocaloid
และในอนาคตนั้นดูแล้วน่าจะรุ่งเรืองได้ไม่ยากนักถ้าจะทำ เพราะดูปฎิกิริยาแล้วคนรุ่นใหม่มีทีท่ายอมรับได้มากกว่าคนรุ่นเก่า และในปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตVocaloidฝั่งตะวันตกก็มีทิศทางที่เร่งดันผลิตภัณฑ์ของตัวเองมากขึ้น จากการปรับแนวทางการตลาดขนานใหญ่ในไม่กี่ปีมานี้ ส่วนฝั่งญี่ปุ่นก็พากันพยายามโกอินเตอร์ข้ามทะเลไปเช่นเดียวกัน และเรื่องที่ตัวละครออกแนวญี่ปุ่นชัดเจนเช่นMiku ที่ตอนแรกข้าเจ้าคิดว่าน่าจะเป็นอุปสรรค์ แต่ไปๆมาๆกลับถูกยอมรับได้อย่างง่ายดาย ข้าเจ้าก็แปลกใจเช่นกัน
ส่วนปัจจัยที่ทำให้แพร่หลายไปในฝั่งตะวันตกได้เร็วมาก(แต่รู้จริงหรือเปล่ามันอีกเรื่อง) ข้าเจ้ามองว่ามันคือ"อินเทอร์เน็ต"ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากกว่า ส่วนหนึ่งมาจากประชากรที่ได้รับการศึกษามากกว่า และชุมชนเมืองที่ถือว่าเป็นแหล่งชั้นยอดในการเผยแพร่วัฒนธรรมใดๆก็ตาม มีประชากรที่มีรายได้ดีมากกว่าเราหลายเท่า ทำให้สามารถเผยแพร่ผ่านงานอีเวนต์ต่างๆได้อีกทอดหนึ่ง(และงานเหล่านี้มันประกาศผ่านอินเทอร์เน็ต) และยิ่งเป็นงานที่ยิ่งใหญ่อย่างคอนเสิร์ตทั้งหลาย ก็ทำให้สื่อต่างๆให้ความสนใจ และเผยแพร่ออกไปแม้ผิดๆถูกๆก็ตาม แต่ถ้ามีคนสนใจและหาข้อมูลเพิ่มเองได้ก็ถือว่าดีแล้ว
สุดท้ายนี้แม้วัฒนธรรมVocaloidเพิ่งเริ่มเดินออกไปทั่วโลกได้เพียงไม่กี่ก้าวจากเส้นทางยาวไกล แต่ข้าเจ้าเชื่อว่า พวกเขาจะเชื่อมคนทั้งโลกเข้ากันได้ในอนาคต เพราะอนาคตมาสู่ปัจจุบันแล้ว
ปล.ส่วนเรื่องความนิยมแค่ดูคลิปคอนเสิร์ตต่างๆก็น่าจะเข้าใจได้แล้วจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเขียนลงไป ถ้ามีจะรวมกับบทความที่จะกล่าวถึงความนิยมทั้งโลก
อ้างอิง
http://akibatan.com/2010/10/miku-in-metro/
http://akibatan.com/2010/10/hatsune-miku-will-conquest-the-world/
http://metro.co.uk/2010/10/21/hatsune-miku-is-pops-biggest-draw-as-japanese-3d-cartoon-stage-sensation-556602/
http://writer.dek-d.com/cammy/story/viewlongc.php?id=486572&chapter=507
http://www.eluniverso.com/2010/09/08/1/1431/vocaloid-artistas-famosos-son-carne-hueso.html?m=tu
http://www.cbsnews.com/8301-205_162-57547707/hatsune-miku-the-worlds-fakest-pop-star/
http://www.the-top-tens.com/lists/singers-perform-london-olympics-opening-ceremonies.asp
http://www.the-top-tens.com/items/hatsune-miku-391821.asp
http://www.youtube.com/user/TheFineBros?feature=watch
http://www.youtube.com/channel/UCINS_5DnREXFLVRwFQS8EXg?feature=watch
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น